วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


เป้าหมายของนโยบายต่างประเทศ หลักการพื้นฐานของการกำหนดและการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็เพื่อการรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ ดังนี้
1. การรักษาสันติภาพ สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่า การเมืองระหว่างประเทศมีความเป็นไปได้ทุกขณะที่จะใช้ความรุนแรง อันได้แก่ การใช้กำลังอาวุธและกำลังทหารเป็นเครื่องมือในการระงับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย 11 กันยายน สงครามสหรัฐอเมริกากับอิรัก ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ เป็นต้น เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้ รัฐต่างๆ จึงพยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยกำหนดเป้าหมาย เพื่อการรักษาสันติภาพ ดังจะเห็นได้จากมีการตกลงจำกัดอาวุธ และลดอาวุธ ตามกฎบัตรสหประชาชาติ หรือมีความพยายามในการตกลงกัน การตกลงกันจำกัดการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับเกาหลีเหนือ
2. การสร้างความมั่นคง ความมั่นคงเป็นหลักสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยทั่วไป จะเห็นได้ว่านโยบายการแผ่อิทธิพลและอำนาจของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคต่างๆ ของโลกนั้นก็เพื่อสร้างความมั่นคงในดุลยภาพของอำนาจระหว่างอภิมหาอำนาจทั้ง สอง หรือในอดีต ไทยต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบผูกมิตรกับจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศในสมาคม อาเซียนก็เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยในกรณีที่เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง กับเวียดนาม กัมพูชา และลาว ที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลัง เป้าหมาย ของนโยบายต่างประเทศในแง่ของการสร้างความมั่นคงนี้ดูเหมือนจะมีความสำคัญ มากกว่าเป้าหมายเพื่อสันติภาพเสียอีก
3. การรักษาอำนาจ การรักษาสถานภาพแห่งอำนาจรัฐต่างๆ จะรักษาอำนาจและฐานะของตนในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมิให้ตกต่ำลง ดังจะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกาได้ขยายอิทธิพลของตนในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งแข่งขันกันมีอิทธิพลในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายนโยบายต่างประเทศของ สหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บูช ได้หันมาสร้างระบบแกนพันธมิตร 3 ฝ่าย อันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก เพื่อประสานระบบความมั่นคงและรักษาอำนาจของสหรัฐเมริกาในส่วนที่เกี่ยวกับ ประเทศกำลังพัฒนานั้น สหรัฐอเมริกาจะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาโดย การลงทุน การให้ความช่วยเหลือในรูปการให้กู้ยืมและการให้เปล่า ตลอดจนการให้การสนับสนุนการรวมตัวกัน เช่น สมาคมอาเซียน และตลาดร่วมยุโรป เป็นต้น
4. การรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันปัญหาความแตกต่างของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนาปรากฏ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ปัญหาความยากจนและความอดอยากในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความตึงเครียดในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยชาติอภิมหาอำนาจต่างก็แข่งขันเพื่อมีอิทธิพลในการให้ความช่วยเหลือเพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยากจนเหล่านี้ แต่บทบาทที่แท้จริงของอภิหมาอำนาจนี้ก็คือ การแข่งขันกันสร้างเขตอิทธิพลของตนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาถูกแบ่งออกเป็นค่ายสังคมนิยมและค่ายเสรีนิยมซึ่ง ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ต่างก็เป็นตลาดวัตถุดิบ ตลาดแรงงาน และตลาดสินค้า รวมทั้งต้องพึ่งพิงกับประเทศอภิมหาอำนาจนั่นเอง นอกจากนี้ ประเทศมหาอำนาจได้ใช้แนวทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อการรักษาความอุดมสมบูรณ์ และการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของตนอีกด้วย เช่น การใช้นโยบายทุ่มสินค้า นโยบาย ปิดล้อม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น